วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ในหลวงกับพระสหาย ตอน 1


ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 ในวันที่ 5  ธันวา 2555 นี้ ข้าพระพุทธเจ้า ขอกราบพระบาทถวายพระพร
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ทรงมีพลานามัยสมบูรณ์ แข็งแรง
 และทรงเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดกาล ด้วยเทอญ.

.
.
.
.

เรื่องพระสหาย

เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่ที่ประเทศ
สวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2476 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ.2478 ทรง
เริ่มศึกษาชั้นอนุบาลที่โรงเรียน Ecole Nouvelle de la Suisse Romande
พร้อมกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

.
.
.
.

เมอร์ซิเออร์กีย์-ฟรังซัวส์ ตาแวร์นีย์

พระสหายทั้ง 4 ท่านเป็นชาวสวิส ท่านแรกคือ เมอร์ซิเออร์ Guy-
François Tavweney เป็นพระสหายร่วมห้องเรียน และนั่งโต๊ะเรียนติดกับพระบาท
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะนี้เป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงของสวิตเซอร์แลนด์


"ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการตำหนิจากครู เพราะทรงไป
ทำความผิดบางอย่าง ทรงขออนุญาติออกไปเข้าห้องน้ำ ผมก็ไปเป็นเพื่อนท่าน
ด้วย ...ผมถามท่านว่าเป็นอะไร ท่านก็ไม่บอก ท่านเก็บความรู้สึก จะเห็นว่าท่าน
 ไม่ต้องการให้คนอื่นเห็น ทั้งครูและเพื่อน ทรงควบคุมพระองค์เองได้เป็นอย่างดี


.....เมื่ออยู่ในห้องเรียนก็ทรงมีน้ำพระทัยอยู่เสมอ ไม่เคยทรงทำอะไรเหลวไหล
บางครั้งอาจจะทรงอยากทำ แต่ด้วยความที่ทรงเป็นเจ้านายก็เลยทำไม่ได้เมื่อ
 อยู่นอกห้องเรียน ก็ทรงเล่นอย่าสนุกสนาน เราเล่นฟุตบอลกันในลานหน้าตึก
เรียนด้วย


......พระองค์ทรงเป็นเพื่อนที่ดีคนหนึ่ง แม้จะต่างกันที่ทรงมีผิวพรรณที่เข้มกว่า
คนอื่นซึ่งมีผิวขาว แต่ทรงแต่งกายเหมือนอย่างเรา ๆ และอาจจะดีกว่าเราด้วย
ทรงกางเกงตามสมัยนิยม สวมเสื้อหนัง"


แม้เขาจะได้เป็นพระสหายร่วมเรียนชั้นเดียว กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เพียง 2 ปีก็ตาม เขาก็ยังมีความทรงจำที่ชัดแจ่ม และไม่เคยคุยโอ้อวดกับใคร
แม้แต่คนไทยเองก็ตามเขารู้จักพระองค์ท่าน


"มีหลายคนที่มักจะอ้างว่าเขาเคยรู้จัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วพวกเขา
ก็พอใจที่ได้อ้างอย่างนั้น แต่สำหรับผมแล้วมิตรภาพลึกซึ้งกว่านั้น แม้ว่ามันจะมี
เวลาแค่ 2 ปี แต่ผมไม่สามารถอธิบายอะไรออกมาได้มาก


....ผมไม่อยากบอกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู๋หัวรู้จักกับผมหรอก แต่ก็ยังอด
คิดไม่ได้ว่า คงจะมีคนอีกมากที่มีโอกาสน้อยกว่าผม ผมเองก็ไม่เคยคุยกับพระ
องค์ท่านหลังจากนั้น เพราะดูเหมือนว่า ทรงประทับอยู่บนยอดเขาเหนือสรรพสิ่ง
 แต่ผมอยู่เบื้องล่าง มันคงยากที่จะมีโอกาสได้คุยกับพระองค์ท่าน 


...แม้ว่าในภายหลังพระองค์ท่านจะเสด็จฯ มาเยี่ยมที่โรงเรียน Ecole Nouvelle
 กับสมเด็จพระราชินีก็ตาม และตอนนั้นก็ไม่ค่อยกล้าคุยกับพระองค์ท่านด้วย"


เขาเทิดทูนองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เหมือนดั่งคนไทย-คนหนึ่ง

.
.
.

เมอร์ซิเออร์แบร์นาร์ บองนี่

พระสหายท่านที่ 2 คือ เมอร์ซิเออร์ Bernard Bonny เป็นพระสหายร่วมห้องเดียว
กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเช่นกัน เคยเป็นทหารและเกษียณหน้าที่การงาน
ที่บริษัทประกันภัย จากนั้นเป็นครูสอนภาษาฝรั่งเศสให้กับคนต่างชาติที่โรงเรียน
ในโลซานน์ อาทิตย์ละสองครั้ง

เมอร์ซิเออร์บองนี่เป็นชาวโลซานน์ และได้มีโอกาสเรียนหนังสือพร้อมกับพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในสองปีสุดท้าย ที่โรงเรียน Ecole Nouvelle เมื่ออายุประมาณ
 16 - 17 ปี

"สำหรับพวกนักเรียนในโรงเรียนนี้ ทุกคนลืมไปเลยครับว่า เพื่อนร่วมชั้นคนนี้เป็น
เจ้าชาย ไม่ได้นึกถึงเลย เพราะพระองค์ท่านมีพระทัยดีกับเพื่อนทุกคน ทรงสนุก
สนานกับเพื่อน ๆ ร่วมชั้น ไม่วางอำนาจหรือเจ้ายศเจ้าอย่างเลย เป็นธรรมดามาก  

....ตอนนั้นท่านประทับอยู่ใกล้ ๆ โลซานน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือใน
สมัยนั้นยังทรงเป็นปริ้นซ์ภูมิพล ทรงมีห้องที่ประทับอยู่ในโรงเรียนด้วย บางครั้ง
เวลาที่ท่านไม่มีเรียนหรือว่างเรียนสักชั่วโมงก็จะทรงชวนผมว่า 'มา..แบร์นาร์ มา
 ด้วยกันสิ'  แล้วเราก็จะไปที่ห้องที่ประทับ ไปกินแอปเปิ้ลหรืออะไรกัน

...ในระหว่างสงคราม คนธรรมดามีรถยนต์ใช้ไม่ได้เขาห้ามครับ จะได้ก็เฉพาะพวก
ที่มีความจำเป็นต้องใช้รถเท่านั้น แล้วใครจะมีรถก็ต้องได้รับอนุญาติพิเศษ สำหรับ
 เจ้านายไทยแน่นอนครับ ท่านได้รับอนุญาติให้มีรถยนต์ได้ ผมจำรถของท่านได้ดี
 เป็นรถยี่ห้อ  Salmson  สีน้ำเงิน


....พ่อผมท่านคุ้นเคยกับพระราชวงศ์ เพราะตอนนั้นพ่อเป็นหัวหน้าเกี่ยวกับเครื่อง
รถยนต์ ในช่วงสงครามมีรถยนต์ตามถนนน้อยมาก ส่วนใหญ่จะใช้จักรยานกัน
 แม้แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับในหลวงอนันทฯก็ยังทรงจักรยานเหมือน
คนทั่วไป จะทรงขี่มากับพระพี่เลี้ยงท่านคือ นายเซอรายดาริส"


เมอร์ซิเออร์บองนี่ ย้อนละลึกถึง บรรยากาศในห้องเรียนแล้วเล่าว่า..


"เวลาเรียนหนังสือท่านก็เหมือนเพื่อนร่วมชั้นคนหนึ่ง เป็นกันเองมาก ผมบอก
ได้เลยว่า ในทุกวิชาที่พวกเราเรียนกัน ไม่ว่าจะเป็นวิชาเลข  วรรณคดี หรือวิชา
อื่น ๆ ท่านเรียนได้ดีมาก อยู่ในระดับต้น ๆ เลย ท่านเรียนเก่งมาก  ผมเคยทูล
ถามท่านครั้งหนึ่งว่า จะทรงศึกษาอะไรต่อหลังจากจบที่นี่แล้ว คือในระดับมหา
วิทยาลัยนะครับ


...ในห้องเรียนสมัยนั้นครูกับนักเรียนไม่ค่อยคุยกัน นักเรียนมีหน้าที่ฟัง ครูถาม
จึงจะตอบ ไม่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือถกปัญหากันเหมือนอย่าง
ปัจจุบัน สมัยนั้นเราต้องให้ความเคารพครูมาก แต่ผมกับนักเรียนบางคนก็แผลง
กับครูบ้างเป็นครั้งคราว ทำผิดกฎของโรงเรียนบ้าง แต่ปริ้นซ์ภูมิพล จะไม่เคย
ทำเลย ท่านจะไม่ยุ่งกับเรื่องแบบนี้


....พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านทรงมีครูประจำพระองค์ เขาทำหน้าที่
เหมือนพระพี่เลี้ยง จะเอารถยนต์พระที่นั่งมารับท่านกลับ พระตำหนักหลัง
จากเลิกเรียนแล้ว"


เมอร์ซิเออร์บองนี่ เล่าถึงพระอุปนิสัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า


"ท่านค่อนข้างจะเอาจริงจังมาก ทรงมีน้ำพระทัยดีเสมอนะครับอย่างผมเป็น
เด็กที่ค่อนข้างซน บางครั้งทำอะไรแผลง ๆ กับครูบ้างตามลักษณะวัยรุ่น
 แต่ปริ้นซ์ภูมิพลไม่เคยร่วมทำอะไรแผลง ๆ ด้วยเลยแม้แต่ครั้งเดียว ทำไม
น่ะหรือครับ ก็เพราะว่าท่านเป็นคนเอาจริงเอาจังมาก ทรงมีความคิดลึกซึ้ง
 ไม่วู่วามเลย


...หลังจากจบโรงเรียนนี้แล้วท่านก็เข้าเสด็จฯเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย
ส่วนผมไปเป็นทหาร เมื่อพ้นเกณฑ์ทหารแล้ว ผมก็เข้าเรียน Political
Science จบแล้วผมก็เข้าทำงานกับบริษัทประกันภัยได้เป็นผู้อำนวยการ
ฝ่ายฝึกงานพนักงาน เป็นบริษัทประกันภัยของสวิตเซอร์แลนด์


...เมื่อท่านมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา ผมเคยเขียนจดหมายไปถวายพระ
พร ก็ได้รับการตอบรับจากท่านราชเลขาธิการ บอกว่าได้ถวายให้ท่านทอด
พระเนตรแล้ว และทรงมีรับสั่งให้ตอบขอบใจมา มีอยู่สองสามฉบับครับ
 ยังเก็บเอาไว้ด้วย


....ในสมัยนั้นที่โลซานน์มีเจ้านายจากประเทศต่าง ๆ มาประทับอยู่มากมาย
หลายราชวงศ์ด้วยกัน แต่ความทรงจำที่ดีที่สุดก็คือจากราชวงศ์ไทย เพราะ
อะไรน่ะหรือครับ ก็เพราะทุกคนที่นี้รักท่าน มีคนสวิสเป็นจำนวนมากที่มีความ
รู้สึกพิเศษให้กับเจ้านายไทย เราจะเห็นหนุ่มน้อยสองพระองค์ขี่จักรยาน
ตามท้องถนนที่โลซานน์เป็นประจำ



สำหรับควีนสิริกิติ์นั้น เราส่วนใหญ่คิดว่าท่านเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดในโลก
ครับ ตัวผมเองก็คิดเช่นนั้นเหมือนกัน"


เมื่อเรียนจบจากโรงเรียนนี้แล้ว เขาก็ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเสด็จกลับไปเยือนโรงเรียน Ecole Nouvelle
 หลังจากนั้นเขาก็ไม่ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู๋หัวอีกเลย


- - - - - - - -


คลิกเลยค่ะ ในหลวงกับพระสหาย ท่านที่ 3-4 ตอนจบ คะ
 

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณ สำหรับ บทความดี ๆ ที่ให้ทั้งความบันเทิง
    และความสุขใจที่ได้อ่านเรื่องราวของ พระเจ้าอยู่หัวของคนไทย ...

    ลงต่อเร็ว ๆ หน่อยนะครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ดีใจครับ ที่ลงบทความต่อให้ได้อ่านอีก แต่ยังไม่จุใจครับ ยังรออ่านต่ออีกนะครับ อย่าให้รอนาน นะครับ

      ลบ