วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

น้ำพริกกะปิ ปลาทูทอด


เริ่มสนุกกับการเข้าครัวคะ เมนูเย็นนี้ น้ำพริกกะปิอาหารแห่งมาตุภูมิ

 

ปลาทูนึ่ง แซลมอน 1 ชิ้น ชะอม สะตอ แครอท กระหล่ำ
กระเทียม 3 กลีบ พริกสด 1 ดอก กะปิ 1 ช้อนชา มะนาว 1 ลูก


ฉากแรก  โขลก ๆ ตำ ๆ


ผสมเครื่องปรุงทุกอย่างให้เข้ากัน  มีรสและกลิ่น ( กระเทียม )


ฉากสอง


ไข่เจียวชะอม


หน้าตา OK เปล่าคะ


ปลาทอดส่งกลิ่นทั้งบ้านเลย


 ปลาทูทอด กินอยู่อย่างไทย


เรียบร้อยแล้วคะ อาหารค่ำมื้อนี้


 น้ำพริกกะปิ ปลาทูทอด ผักสด ไข่เจียวชะอม.


 - - - - - - - - - ปิดครัว - - - - - - - - -

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

Liver Cancer / มะเร็งตับ


มะเร็งตับภัยใกล้ตัว

ตับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์มีหน้าที่สำคัญ
หลายประการ เช่น การสะสมวิตามินเอ ดี และบี 12 รวมทั้งกลูโคส
เหล็ก ทองแดง เพื่อให้ร่างกายใช้สร้างน้ำดีในการย่อยไขมัน สร้างสาร
ที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด และสร้างพลังงาน ทั้งยังทำหน้าที่กำจัด
สารพิษในร่างกายอีกด้วย และเพราะมีหน้าที่มากมายอย่างนี้ เมื่อมีอาการ
ผิดปกติเกิดขึ้นกับตับจึงส่งผลให้ร่างกายทรุดโทรมลงอย่างมาก


สำหรับโรคมะเร็งตับนั้น พบบ่อยในประเทศแถบเอเซีย ในประเทศไทย
มีผู้ป่วยมะเร็งตับสูง ใกล้เคียงกับมะเร็งปอด ที่มากเป็นอันดับหนึ่ง
โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสถิติมะเร็งตับมากที่สุด


ส่วนสาเหตุที่คนไทยเป็นมะเร็งตับกันมาก มีความเกี่ยวพันกับนิสัย
การบริโภค อาหารที่มีสารก่อมะเร็ง อาทิ การรับประทานพริกแห้งและ
ถั่วลิสงบด ซึ่งมีสารอัลฟาท็อกซินอยู่มาก รวมทั้งการได้รับพยาธิใบไม้
จากการรับประทานปลาร้า ปลาส้ม ปลาจ่อม และดินประสิวในแหนม
 ไส้กรอกเบคอน และการดื่มสุราเป็นประจำ


และสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งของมะเร็งตับ คือ
เกิดจากการได้รับเชื่อไวรัสตับอักเสบ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับ
อักเสบซี โดยเชื้อดังกล่าว สามารถก่อให้เกิดมะเร็งตับในภายหลังได้ ยังพบ
ว่ามะเร็งตับ มักเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และยังเป็นโรคที่สามารถถ่าย
ทอดทางกรรมพันธุ์ได้ด้วย


แม้มะเร็งตับจะดูร้ายแรง แต่ก็สามารถป้องกันได้ โดยการไม่รับประทาน
อาหารที่มีสารก่อโรค งดเว้นการดื่มสุรามากจนเกินไป นอกจากนี้หากมี
อาการอ่อนเพลีย ท้องอืด หรือมีน้ำหนักลดผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์
เพื่อรับการตรวจวินิฉัยโดยเร็ว


หรือหากไม่มีอาการใด ๆ การรับการตรวจเลือดหาภูมิต้านทาน
พร้อมทั้งฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสบี ก็เป็นการลดความเสี่ยงได้อีกทางหนึ่ง.

ขอบคุณข้อมูลจากมุมสุขภาพ



วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

Ttalassemia - ธาลัสซีเมีย

ธาลัสซีเมีย คืออะไร

ธาลัสซีเมีย คือ ความผิดปกติของเลือดชนิดหนึ่ง ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
อาจมีโลหิตจางซึ่งเรียกว่า โลหิตจางธาลัสซีเมีย มีชนิดย่อยหลายชนิดเช่น
 ชนิดเบต้า (beta-thalassemia) ชนิดแอลฟ่า ชนิดอี (Hemoglobin E) ชนิดเอช
เป็นต้น แต่ละชนิดมีความรุนแรงต่าง ๆ กัน

ผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ที่รุนแรงมาก เช่น ชนิดเบต้า และอี-เบต้า
จะสร้างเม็ดเลือดแดงผิดปกติที่สลายตัวง่าย ทำให้เลือดจาง ดูซีดเหนื่อย
ง่ายเจริญเติบโตช้า ผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียที่รุนแรงน้อย เช่นชนิด
เอ็ช อาจมีเลือดจางเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการ แต่นาน ๆ ครั้ง จะมีอาการ
ซีดลงอย่างรวดเเร็วเป็นพัก ๆ และหายเองได้ เป็นต้น

โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย มิใช่โรคมะเร็งแต่เป็นโรคเรื้อรังประจำ ตัวเด็ก
ต้องให้การรักษาไปตลอดชีวิต โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย รักษาอย่างไร ?

เด็กที่เป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง สามารถรักษาให้ดีได้โดย
การให้เลือดให้มากพอ และให้ยาขับธาตุเหล็ก การให้เลือดจากผู้บริจาค
โลหิตแก่เด็กที่ป่วยด้วยโรคนี้เป็นประจำทุก 3-4 สัปดาห์จะป้องกันไม่ให้
เด็กมีโลหิตจาง และหยุดสร้างเม็ดเลือดที่ผิดปกติได้ เด็กจะแข็งแรงเจริญ
เติบโต เป็นปกติได้แต่ต้องมาโรงพยาบาลสม่ำเสมอตลอดชีวิตเพื่อให้
การรับเลือดแบบนี้

การให้เลือดเป็นประจำจะทำให้ธาตุเหล็กสะสมมากเกินไป เด็กที่รักษา
แบบนี้จะต้องได้รับยาขับธาตุเหล็กออกจากร่างกายเป็นประจำ อาจทำ
โดยการฉีด"ยาขับธาตุเหล็ก"เองตลอดคืนที่บ้าน สัปดาห์ละ 3-5 วัน หาก
ควบคุมธาตุเหล็กมิให้สะสมได้ เด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่และมีชีวิตยืนยาว
ได้ใกล้เคียงกับคนปกติ

สำหรับเด็กที่เป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดไม่รุนแรง ไม่จำเป็นต้อง
ให้เลือดเป็นประจำ จะได้ไม่มีปัญหาธาตุเหล็กเกิน จะให้เลือดก็ต่อเมื่อซีด
กว่าเดิมเป็นครั้งคราว หรือเมื่อมีอาการเหนื่อย บางทีการผ่าตัดม้ามออก
อาจทำให้อาการดีขึ้นได้

โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย รักษาหายขาดได้หรือไม่ ?

เด็กที่เป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง อาจรักษาหายขาดได้โดย
การปลูกถ่ายไขกระดูก หรือการปลูกถ่ายสเตมเซลล์ แต่การรักษาด้วยเทค
โนโลยีขั้นสูงนี้ ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายสำหรับทุกคน

เพราะว่าการปลูกถ่ายไขกระดูกจะทำสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อ มีผู้บริจาคไขกระดูก
หรือสเตมเซลล์ที่มีหมู่เลือด "เอชแอลเอ" ตรงกับผู้ป่วย หากเด็กที่เป็น
ธาลัสซีเมีย มีพี่น้องคนใดคนหนึ่ง ที่มี "เอชแอลเอ" ตรงกับเขาก็อาจรักษา
ได้ด้วยวิธีการปลูกไขกระดูก และอาจทำให้หายขาดจากโรคโลหิตจางธา
ลัสซีเมียไม่ต้องให้เลือดอีกเลย ไม่ต้องฉีดยาขับธาตุเหล็กไปตลอดชีวิต
 แต่หากไม่มีผู้บริจาคที่เหมาะสม การปลูกถ่ายไขกระดูกย่อมไม่สำเร็จ เสี่ยง
ต่อผลข้างเคียงมาก จึงไม่แนะนำให้ทำ

เราจะป้องกันไม่ให้ลูกหลานเป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียได้อย่างไร ?

ธาลัสซีเมียเป็นโรคพันธุกรรม ผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ย่อมเกิด
จากพ่อและแม่ที่มีภาวะธาลัสซีเมียแฝง ภาวะธาลัสซีเมียนั้นมิใช่โรค ผู้
ที่มีธาลัสซีเมียแฝงเป็นคนปกติและไม่ทำให้โลหิตจาง ชาวไทยและคน
เอเซียตะวันออกเฉียงใต้จำนวนมาก ล้วนมีภาวะธาลัสซีเมียแฝงแบบใด
แบบหนึ่งอยู่ในยีนของเรา เชื่อกันว่ายีนธาลัสซีเมีย มีส่วนทำให้บรรพบุรุษ
เราอยู่รอดจากโรคภัยไข้เจ็บ เช่น โรคมาลาเรีย ที่แพร่ระบาดในภูมิภาคนี้
ในสมัยที่การแพทย์ยังไม่เจริญมาได้จนถึงทุกวันนี้

หากท่านมีธาลัสซีเมียแฝง อย่าได้กังวลใจ ก่อนมีบุตรให้พาคู่ของท่านไป
ตรวจว่ามีธาลัสซีเมียแฝงหรือไม่ ถ้ามีธาลัสซีเมียแฝงทั้งคู่ก็สามารถมีบุตร
ได้ แต่ต้องปรึกษาสูติแพทย์ที่รู้เรื่องธาลัสซีเมียเพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับ
การตรวจก่อนคลอด เพื่อให้แน่ใจว่าบุตรที่คลอดออกมา ปลอดจากโรคโล
หิตจางธาลัสซีเมีย หากคู่ใดที่มีธาลัสซีเมียแฝงคนเดียว บุตรจะไม่มีโอกาส
เป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงได้เลย สามารถมีบุตรได้ตามปกติ

สามารถสอบถามและเรียนรู้เกี่ยวกับธาลัสซีเมียเพิ่มเติมได้จาก
มูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย

http://www.thalassemia.or.th/

หรือ ติดต่อที่ ชมรมธาลัสซีเมีย
 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โทร. 02-256-4949 ในเวลาราชการ
 ขอบคุณข้อมูลจาก รศ.นพ อิศรางค์ นุชประยุร