วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

6 ตุลา 2519 ความจริงที่ถูกปิดบัง ตอน 2


 
เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เป็นเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปจับล้อม
และสังหารนิสิตนักศึกษา ประชาชน บริเวณ ม. ธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์
ผู้ชุมนุมประท้วงเพื่อขับไล่ให้ จอมพลถนอม กิตติขจร ออกนอกประเทศ

สาเหตุความขัดแย้ง...สรุปสั้น ๆ ในขณะนั้นได้เกิดการแตกแยก
ทั้งในพรรคการเมืองและกลุ่มประชาชนออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่สนับสนุน
บทบาทของนิสิตนักศึกษา และกลุ่มที่ต่อต้านนิสิตนักศึกษา
ทำให้สถานการณ์มีความรุนแรงมากขึ้น

 วันที่ 24 กันยายน 2519 พนักงานการไฟฟ้านครปฐม
และแนวร่วมสมาชิกต่อต้านเผด็จการ ถูกซ้อมตายขณะออกไปติด
โปสเตอร์ต่อต้าน และถูกนำศพไปแขวนคอที่บริเวณหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
ต. พระประโทน จ. นครปฐม ความเคลื่อนไหวทวีความรุนแรงมากขึ้น

สภาแรงงานได้ยื่นคำขาดให้ จอมพลถนอม ออกนอกประเทศ
ภายใน 5 วัน ต่อจากนั้น นิสิตนักศึกษา สภาแรงงาน ทั้งผู้ต่อต้านได้
รวมตัวกันประท้วงที่ท้องสนามหลวง จากนั้นจึงย้ายไปที่ ม. ธรรมศาสตร์

วันที่ 4 ตุลาคม 2519 มีการแสดงละคร เกี่ยวกับการฆ่าแขวนคอ
ของพนักงานการไฟฟ้า หลังจากนั้นสถานีวิทยุออกข่าวว่า นักศึกษา
ที่แสดงละครมีใบหน้าคล้าย (?) ถูกแขวนคอ

เช้าวันที่ 5 ตุลา 2519 หนังสือพิมพ์เผยแพร่ภาพการแสดงละคร
ล้อเลียน แขวนคอของนักศึกษา โดยพาดหัวข่าวเป็นเชิงว่า การแสดง
ดังกล่าวเป็นการหมิ่น ค่ำคืนนั้นสถานีวิทยุ และชมรมวิทยุเสรี เรียกร้อง
ให้ประชาชน และลูกเสือชาวบ้าน ไปชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า
และเรียกร้องให้รัฐบาลจับ ผู้กระทำหมิ่นมาลงโทษ

เช้า 6 ตุลา 2519 เวลาประมาณ 9.00 น.วิทยุแห่งประเทศไทย
ได้กระจายข่าวว่ามีการจราจลขึ้นในแผ่นดิน เสียงประกาศและเสียงปืนรัว
ถี่ยิบเป็นระลอก ประชาชนตื่นตระหนกตกใจ ตำรวจโดยคำสั่งของรัฐบาล
เสนีย์ ปราโมช ได้ใช้อาวุธสงครามบุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 และยังมีกองกำลัง กระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้าน และนวพลเสริม
บ้างก็ล้อมอยู่รอบนอก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดนล้อมไว้ กลุ่มต่อต้าน
นักศึกษาได้ใช้รถบัสพุ่งเข้าชนประตูมหาวิทยาลัย ใช้อาวุธหนักระดมยิงกระสุน
วิถีโค้งยิงกราดเข้าไปยังกลุ่มนักศึกษาซึ่งมีอยู่จำนวนมาก ตายไปบาดเจ็บไป
คนที่หนีออกมาข้างนอกก็ต้องเสี่ยงกับความทารุณโหดร้ายอย่างยิ่ง

ตชด.เข้าประจำการแทนตำรวจท้องที่ และมีกำลังเสริมเข้ามาอีกสองคันรถ
 ยิงเข้าใส่กลุ่มนักศึกษา ประชาชน อย่างไม่ย้บยั้ง ฝูงชนแตกตื่น วิ่งหนีออก
ทางหน้าประตูมหาวิทยาลัย ในจำนวนนี้ มีมากกว่า 20 คน ถูกรุมตีกระทืบ
บางคนถูกทำร้ายบาดเจ็บสาหัส แต่ยังไม่สิ้นใจ ได้ถูกลากออกไปแขวนคอ
 บางคนถูกราดน้ำมันเผาทั้งเป็น บางคนถูกยิงเสียชีวิตทันที

มีนักศึกษาหญิงคนหนึ่ง ถูกรุมตีจนสิ้นชีวิต แล้วถูกเปลือยผ้าประจาน
 มีหลายคนที่เดินเลี่ยงออกไปด้วยน้ำตาคลอ

พอตกเย็น ๆ วิทยุได้ประกาศยุบรัฐบาล
สมัย ม. ร. ว.เสนีย์ ปราโมชเป็นนายกรัฐมนตรี และตั้งคณะ
ปฎิรูปปกครองบ้านเมืองขึ้นใหม่ โดย พล. ร.อ. สงัด ชลออยู่
เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปฯ ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ประกาศกฎอัยการสึก

เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ยังมีรายละเอียดอีกมากมาย
ที่ไม่สามารถบอกเล่าได้หมดในพื้นทีตรงนี้
 

ขอขอบคุณ: ผู้ที่บันทึกเหตุการณ์ไว้ให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษา
ขอบคุณ: ภาพทุกภาพจากอินเตอร์เนตค่ะ

.........ดอกฝิ่น//....





ทำไมถึงต้องทำกันขนาดนี้




 
น้ำตาซึมทุกครั้งเมื่อเห็นภาพ
เขาคนนี้ไม่ใช่คนไทยหรือ..
 
- - - - - - - -
 
 

1 ความคิดเห็น:

  1. เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
    นับเป็นชัยชนะของประชาชน
    แต่ก็เป็นชัยชนะที่แลกมาด้วยชีวิตและเลือดเนื้อ
    ของพี่น้องชาวไทย ที่ต้องมาฆ่ากันเอง..

    เหตการณ์ 6 ตุลาคม 2519
    นับเป็นความพ่ายแพ้ของทุกฝ่าย
    ประเทศชาติบอบช้ำ กับเหตการณ์ครั้งนี้
    ไม่มีใครได้ประโยชน์

    นิสิต นักศกษา ประชาชน สูญเสียชีวิตมากมาย
    บางคนต้องหนีกลายเป็นผู้ก่อการร้าย
    หลบซ่อนการตามล่าอยู่ในป่าเขา
    ทหารตำรวจ ถูกเกลียดชัง เหยียดหยาม
    จากประชาชนที่รับรู้ความจริง ทั้งในประเทศ
    และสังคมโลก ถึงแม้จะปกปิดคนไทยบางส่วน
    ไม่ให้รับข่าวสารจากต่างประเทศได้

    ทรราช ทหาร-ตำรวจ รวมถึงนักการเมืองบางคน
    อย่าง นายสมัคร ที่ร่วมกันวางแผนและก่อการครั้งนั้น
    ถูกกดดันให้ลดบทบาทลง จากหลายฝ่าย รวมถึง
    จากต่างประเทศที่ไม่ยอมรับกับการกระทำ
    ที่โหดเหี้ยม ไร้มนุษยธรรม จนไม่
    สามารถบรรยายเป็นคำพูดได้

    เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
    นับเป็นบาดแผลของทุกฝ่าย ทหาร ตำรวจ
    ลูกเสือชาวบ้าน นิสิตนักศึกษา ประชาชน
    ทุกฝ่ายไม่มีใครชนะ มีแต่ความพ่ายแพ้
    แล้วก็เหมือนเดิม เชื้อชั่วทรราช
    ยังไม่สูญสินไปจากเมืองไทยหลบไปฝักตัว
    กลายพันธุ์ แล้วกระจายอยู่ทุกส่วนในสังคมไทย

    มันเป็นบทสรุปที่หาคำตอบไม่ได้...

    ตอบลบ