วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รากบัว ยาดีในสำรับเอเซีย


รากบัว

คนเอเซียยกให้ดอกบัว เป็นดอกไม้แห่งความบริสุทธุ์และปัญญา
ตำนานการกินบัว โดยเฉพาะรากบัว ในหลายประเทศทั่วเอเซียมี
มายาวนานนับพันปี คนจีนดูจะเป็นชาติที่กินบัวกันมาช้านานกว่า
ชาติใด เนื่องจากเชื่อว่า การกินบัวนั้นเป็นมงคลอย่างหนึ่ง


เพราะนอกจากบัว จะป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธุ์แล้ว ยังถือ
ว่า บัวเป็นสัญลักษณ์ของการเจริญพันธุ์ มีลูกเต็มบ้านหลานเต็ม
เมือง ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ความงามของเจ้าสาวในพิธีวิวาห์และ
ความรักของบ่าวสาวดังที่ผูกพันแน่นแฟ้น ดังสำนวนไทยที่ว่า...

" ตัดบัวยังเหลือใย "

เมืองไทยอย่างบ้านเรามีวิถีชีวิตผูกพันกับสายน้ำ
ประวัติการกินรากบัวเป็นทั้งอาหารและยาจึงสืบทอดกันมาช้านาน
เช่นกัน  คนสมัยก่อนใช้รากบัวเป็นส่วนประกอบของยาหม้อโบราณ
เพราะมีสรรพคุณเป็นยาเย็น ช่วยลดอาการร้อนใน คนไข้ที่มีไข้สูง
หมอแผนโบราณมักให้ดื่มน้ำต้มรากบัวที่ค่อนข้างเย็น ส่วนคนปกติ
ให้ดื่มน้ำต้มรากบัวแบบอุ่น ๆ


การกินรากบัวดีต่ออวัยวะภายใน คนโบราณบอกไว้ว่า ดื่มน้ำต้มราก
บัววันละ 2 - 3 แก้ว จะช่วยแก้อาการผิดปกติในระบบย่อยอาหารได้
ดีเยี่ยม ตั้งแต่อาการท้องเดิน ไปจนถึงอาการเลือดออกในกระเพาะ
อาหาร ลำไส้เล็ก และช่องทวารหนัก ( ซึ่งสังเกตได้จากมีเลือดปน
ออกมากับอุจจาระ) ตลอดจนช่วยเจริญอาหาร


นอกจากนี้ยังช่วยรักษาอาการเลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน
ตลอดจนช่วยลดอาการอาเจียนเป็นเลือด ทั้งยังกินแก้พิษอักเสบ
แก้ปอดบวม และเป็นยาชูกำลัง


สำหรับคุณค่าทางอาหาร รากบัวอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ช่วยบำรุง
โลหิต มีวิตามินบี วิตามินซี ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้
แข็งแรงและมีใยอาหารปริมาณมาก ช่วยแก้อาการท้องผูกได้ชะงัด


หลากวิธีกินรากบัว

กินสด..นำรากบัวอ่อน ๆ มาล้างให้สะอาด แล้วสามารถกินแบบผลไม้ได้

- - - - - - - - -

เครื่องดื่มน้ำรากบัว

เครื่องดื่มรากบัว..สูตรดั้งเดิมที่ยังคงความนิยมมากที่สุด มาถึงปัจจุบันนำ
รากบัวที่ล้างสะอาดฝานเป็นชิ้น 2 ถ้วย ต้มกับน้ำสะอาด 3 ถ้วย และนำน้ำ
ตาลทรายแดง 1/3 ถ้วย เคี่ยวนาน 20 นาที เสริฟอุ่น ๆ กินได้ทั้งน้ำทั้งเนื้อ

- - - - - - - - - -

กับข้าวจานรากบัว

ด้วยคุณสมบัติกรุบกรอบ รสชาติกลาง ๆ ทำให้รากบัวเข้าได้กับทุกเมนู
 จึงสามารถนำรากบัว มาปรุงอาหารไทยได้เกือบทุกเมนูทั้งต้ม ผัด แกง
และยำ 

- - - - - - - - -

วิธีเลือกรากบัวให้กินอร่อย ในบ้านเรามีรากบัวให้เลือกกินอยู่  2 ชนิดซึ่ง
 ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพเหมือนกัน คือ รากบัวไทย และรากบัวจีน

- - - - - - - - -

รากบัวไทย มีขนาดเล็ก สีชมพูอมสีปูน เนื้อละเอียดแน่น กลิ่นหอมมาก
เมื่อนำมาต้ม จะได้น้ำสีชมพู อมสีปูนเข้มข้น

- - - - - - - - -


รากบัวจีน.. มีขนาดใหญ่ สีเนื้ออมชมพู เนื้อหยาบ ไม่แน่น กลิ่นหอม
อ่อน ๆ เมื่อนำมาต้มจะได้น้ำสีชมพูอ่อนกว่า น้ำที่ได้จากรากบัวไทย

- - - - - - - - - -

ไม่ว่ารากบัวไทยหรือจีน ต้องเลือกรากบัวสดใหม่ ผิวตึง อาจมีดินสีดำติด
อยู่ ถ้าเป็นรากบัวเก่าที่เก็บมานานแล้ว จะสังเกตได้ว่ามีสีคล้ำออกน้ำตาล
หากจะนำรากบัวมาใส่สลัด กินสดกรุบกรอบ ควรเลือกรากบัวอ่อน ๆ ซึ่งมี
สีขาวนวล สำหรับรากบัวที่แก่นั้นเหมาะสำหรับนำมาทำอาหารที่ต้องคี่ยว
นานหรือของหวาน

- - - - - - - - -

ขอขอบคุณข้อมูลจาก.. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์ศักดิ์ ทรงพระนาม
อาจารย์ประจำภาควิชาอาหารและโภชนาการ และคุณอัณณ์มากค่ะ

....ดอกฝิ่น//.


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น