วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

Queen Rania Al-Abdulah / เรเนีย


ราชินีอายุน้อยที่สุด และยังได้ฉายาว่าสวยที่สุดอีกด้วย
คือ Queen Rania Al-Abdulah แห่งจอร์แดน

ราชินีเรเนียเป็นพระราชินีของประเทศอาหรับ
ที่มีสไตล์ตะวันตกไม่ทรงใส่ผ้าคลุมหน้าอย่างผู้หญิงมุสลิมทั่วไป แต่
ไม่ได้หมายความว่าจะทรงไม่เคร่งครัดต่อศาสนาอิสลามที่ทรงนับถืออยู่

"ผู้หญิงมากมายที่จอร์แดนก็แต่งตัวแบบฉัน.." ทรงให้สัมภาษณ์ "ประเทศ
เราให้สิทธิแก่ผู้หญิง ในการเลือกจะใส่ผ้าคลุมหน้าหรือไม่ ในประเทศทาง
ตะวันตกเขาเชื่อกันว่า ผ้าคลุมหน้าคือความล้าหลังและความไม่มั่นใจ แต่
ในความเป็นจริงไม่ใช่อย่างนั้นเลย ผ้าคลุมหน้าไม่เกี่ยวกับความคิดล้าหลัง
หรือเดินหน้าเดินหลังของใคร มันขึ้นอยู่กับพื้นฐานความเชื่อมั่นของผู้หญิง
คนนั้นมากกว่า "

พระราชินีเรเนียทรงมาจากครอบครัวสามัญชน มีพระนามเดิมว่า
 Ramia AL-Yasin เกิดวันที่ 31 สิงหาคม 1970 ที่ประเทศคูเวต ในครอบครัว
จอร์แดนที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวปาเลสไตน์

ทรงจบปริญญาตรีสาขาบริหารธุรกิจปี 1991 ที่มหาวิทยาลัยอเมริกาใน
ประเทศไคโร สามารถพูดภาษาเอราบิคและอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว
ก่อนที่จะมาทำงานให้กับธนาคารซิตี้แบงค์

นางสาวเรเนียได้มีวาสนาพุ่งขึ้นสูงสุดในชีวิตผู้หญิง เมื่อเธอได้รับการ
แนะนำให้รู้จักกับอับดุลลาห์ บิน-ฮัซเซ็น( Abdulah Bin Al-Hussein) เมื่อปี
 1993 ในงานปาร์ตี้แห่งหนึ่ง เขาคงจะไม่เป็นที่น่าสนใจอะไรมากกว่าผู้ชาย
ธรรมดา ๆ คนหนึ่ง หากไม่ใช่เพราะพระตำแหน่ง พระโอรส ของพระเจ้า
ฮัซเซ็น ผู้เป็นพระราชาปกครองประเทศจอร์นแดนในสมัยนั้น

เพียง 6 ดือนให้หลังคือเดือนมิถุนายน 1993 ทั้งสองก็ตัดสินใจเข้าสู่
ราชพิธีสมรสกัน แต่ขณะนั้น เจ้าชายอับดุล-ลาห์ บิน-ฮัซเซ็น ยังไม่ได้
เป็นมกุฎราชกุมาร ดังนั้นทั้งเจ้าชายอับดุลลาห์กับเจ้าหญิงเรเนีย ซึ่งเป็น
พระชายาจึงไม่มีสิทธิ์ใด ๆ กับการขึ้นครองราชบัลลังค์แห่งจอร์แดน

ถัดมาในปี 1999 ประเทศจอร์แดนต้องตกอยู่ในอาการโศรกเศร้า เพราะ
พระเจ้าฮัซเซ็น กษัตริย์ที่ทรงมีนโยบายแข็งกล้า ที่จะนำสันติสุขมาสู่
ประเทศทางตะวันออกกลาง และผู้ทรงเป็นที่รักของปวงชนชาวจอร์แดน
ทั้งประเทศ กำลังจะสิ้นพระชนม์ด้วยโรคมะเร็ง

ก่อนสิ้นพระชนม์ไม่นานกษัตริย์ฮัซเซ็นได้ทรงทำการเปลี่ยนแปลงครั้ง
สุดท้ายและครั้งสูงสุด ซึ่งนำมาซึ่งการพลิกวิถีชีวิตครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของ
ครอบครัวเจ้าชายอับดุลลาห์และเจ้าหญิงเรเนีย นั่นคือทรงสั่งเปลี่ยน
ตำแหน่งมกุฎราชกุมารอย่างกะทันหัน

จากเจ้าชายฮัซซาน บิน แทลแลล ซึ่งเป็นพระอนุชาของกษัตริย์ฮัซเซ็น
และได้ครองตำแหน่งมกุฎราชกุมารมากว่า 33 ปี มาเป็นพระโอรสองค์โต
คือเจ้าชายอับดุลลาห์ ซึ่งขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง 37 ชันษาเท่านั้น

เจ้าหญิงเรเนียเมื่อทรงได้รับการสถาปนาเป็น 'พระราชินี' อย่างกะทันหัน
เช่นนั้น แม้จะอยู่ในอาการโศรกเศร้าแต่ก็ทรงปรับสถานการณ์ทันกับการ
ที่ต้องพระสวามีปกครองประเทศ ที่มีประชากร 5 ล้านคน เพราะทรงฝึก
พระองค์เองให้รู้จักงานสังคมสงเคราะห์มาบ้างแล้ว

เมื่อปี 2001 ทรงได้รับรางวัลจาก International Osteoporosis Foundation
ซึ่งเป็นกองทุนช่วยรักษาโรคกระดูกนานาชาติและทรงเดินทางไปเยี่ยม
เยียน American Red  Crossที่สำนักงานใหญ่ เพื่อเป็นกำลังใจแก่ผู้โชค
ร้าย จากโศกนาฎกรรม 11 กันยายน 2001 ที่ มหานครนิวยอร์ก

แม้จะทรงเป็นพระราชินีของโลกอาหรับ ที่พลิกแผ่นดินจอร์แดนให้สู่
ความเป็นตะวันตกมากเพียงใด ในความเป็น' ผู้หญิง' ก็ไม่ทรงละทิ้งหน้า
ที่ของพระมเหสีที่ดี และพระมารดาที่อบอุ่นของพระโอรส-พระธิดาทั้งสาม.

2 ความคิดเห็น:

  1. thesis services, thanks, this story is very interesting and absorbing! I'm looking forward to reading your new stories! You wield a formidable pen, my friend!

    ตอบลบ
  2. Thanks, this story is very interesting and absorbing! I'm looking forward to reading your new stories! You wield a formidable pen, my friend!

    ตอบลบ