ในหลวงพระราชทาน ส.ค.ส. ปี 2556 แก่พสกนิกรชาวไทย
พร้อมข้อความว่า "ความเมตตาเป็นคุณธรรมนำความสุข
ช่วยปลอบปลุกปรุงใจให้หรรษา ความกตัญญูรู้คุณผู้เมตตา
ทวีค่าของน้ำใจไมตรีเอย"
เคยสงสัยกันไหมคะว่า คำว่า ส.ค.ส. มีที่มาอย่างไร
ตามประเพณีไทยสมัยโบราณ การอวยพรกล่าวคำมงคลแก่ผู้ใด
มักจะเอ่ยด้วยวาจาและพูดกันต่อหน้าผู้รับเลย ไม่มีการส่งความ
สุขหรือคำอวยพรด้วยการใช้ ส.ค.ส. เหมือนทุกวันนี้
ซึ่งต่างกับชาวตะวันตกที่เริ่มมีการส่งบัตรอวยพร โดยเริ่มจาก
บัตรเยี่ยมก่อน(Visting Card)ซึ่งเริ่มใช้กันตั้งแต่ราวกลางศตวรรษ
ที่ 18 หรือประมาณปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาโน่นคะ
บัตรเยี่ยมนี้จะใช้เขียนข้อความเพื่อเยี่ยมเยือนกัน ต่อมาก็มีการทิ้ง
บัตรเขียนแสดงความชื่นชม ในเทศกาลปีใหม่ไว้ที่บ้านของผู้ที่ตน
ไปเยี่ยมเยีอนปีใหม่ อันเป็นเครื่องหมายแสดงได้ว่า เริ่มมี
ส.ค.ส. เกิดขึ้นแล้ว
การส่งบัตรอวยพรของไทยก็ได้รับธรรมเนียมมาจากฝรั่ง
หลักฐานเรื่อง ส.ค.ส.หรือบัตรอวยพรความสุขปีใหม่ เก่าที่สุดพบ
ปรากฎในหนังสือ Bangkok Recorder วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2409
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
ได้มีสำเนาคำพระราชทานพรขึ้นปีใหม่ของพระองค์ ซึ่งพิมพ์เป็น
ภาษาอังกฤษปรากฎอยู่ในหนังสือพิมพ์ Bangkok Recorder
(ฉบับภาษาอังกฤษ) ของหมอรัดเลย์ แปลความได้ว่า..
ทรงขอส่งบัตรตีพิมพ์คำอวยพรนี้ถึงบรรดากงสุล เจ้าหน้าที่
กงสุลชาติต่าง ๆ และชาวต่างประเทศที่ทรงคุ้นเคยโดยทั่วถึงกัน
จึงกล่าวได้ว่า เป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์แรกของไทย ทีทรง
เริ่มส่ง ส.ค.ส. บางทีอาจเป็นคนไทยคนแรกด้วย คือ รัชกาลที่ 4
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นสมัยที่เกิดคำว่า ส.ค.ส. หรือส่ง
ความสุข ขึ้น ซึ่งการส่งบัตรอวยพรความสุขในยุครัชสมัยนี้
นิยมส่งกันตั้งแต่ต้น ๆ รัชกาล
และ ส.ค.ส. ส่วนใหญ่ที่พบในหอจดหมายเหตุแห่งชาติในช่วง
พ.ศ. 2429 มีลักษณะเป็นนามบัตรเขียนคำว่า ส.ค.ส.ปีนั้นปีนี้ลง
ไป หรือไม่ก็เขียนคำอวยพรลงบนแผ่นกระดาษฝรั่ง
นอกจากนั้นยังมีบัตรอวยพรของฝรั่งปะปนอยู่อีกหลายแผ่น ช่วง
เวลาที่ส่งกันก็คือ ช่วงเดือนเมษา เพราะเราเคยขึ้นปีใหม่ในเดือน
นั้น เพราะรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระบรมราชโองการ
กำหนดให้ใช้ วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ โดยเริ่มตั้งแต่
พ.ศ. 2432 เป็นต้นมา
จนสมัยรัชกาลที่ 8 พ.ศ. 2483 ทางราชการได่เปลี่ยนให้ใช้ วันที่
1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่แทน ทั้งนี้โดยให้เหตุผลว่า จะยกเลิก
อิทธิพลพราหมณ์ และให้สอดคล้องกับประเพณีไทยโบราณที่มี
การยึดเดือนอ้าย(ใกล้ถึงเดือนมกราคม)เป็นวันขึ้นปีใหม่ ก็เลยยึด
หลักเกณฑ์นี้ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับสากลด้วย.
- - - - - - - - - - - - - - -
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น